กรรมวิธีการผลิตเกลือ

กรรมวิธีการผลิตเกลืออย่างอื่น

1. การผลิตเกลือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar salt, Sea salt)

เป็นการผลิตแบบโบราณโดยอาศัยแสงอาทิตย์และลม เป็นตัวระเหย น้ำเกลือจากน้ำทะเล ทะเลสาบน้ำเค็ม และน้ำเกลือที่สูบจากใต้ดิน บนลานตากขนาดใหญ่

การผลิตเกลือจากน้ำทะเล เรียกว่า การทำนาเกลือสมุทร

การผลิตเกลือจากน้ำเกลือที่สูบจากใต้ดิน เรียกว่า การทำนาเกลือสินเธาว์

2. การทำเหมืองใต้ดิน (Rock salt)
ทำการขุดเจาะอุโมงค์ลงใต้ดิน เพื่อทำการผลิตด้วยเครื่องจักรกล หรือ ระเบิด นำเกลือจากชั้นแร่เกลือหินโดยตรง การผลิตเกลือแบบนี้ทำเป็นเมืองขนาดใหญ่มีกำลังผลิตมาก ผลิตเพื่ออุตสาหกรรมโดยตรง

 

3. กรรมวิธีการผลิตเกลือ ที่บริษัท เกลือพิมาย เลือกใช้
การทำเหมืองละลาย (Solution mining for salt) และ การใช้เครื่องระเหย (Evaporator)

เป็นการผลิตเกลือที่อาศัยเทคโนโลยี โดยการสูบอัดน้ำจืดลงไปละลายชั้นเกลือหินใต้ดิน ที่ความลึกประมาณ 200 เมตร น้ำเกลือเข้มข้นที่ได้จะถูกสูบขึ้นมาเข้ากระบวนการทำให้น้ำเกลือบริสุทธิ์ (Purified Brine) และผ่านเข้าเครื่องตกผลึกเกลือ (โดยอาศัยการระเหยของไอน้ำ) ที่เพิ่มอุณหภูมิน้ำเกลือภายใต้สภาวะสุญญากาศ จนเกลือตกผลึก จากนั้นนำเกลือชื้นที่ได้เข้าเครื่องสลัดน้ำและอบแห้ง พร้อมเติมสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน

แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกรองรับด้วยชั้นเกลือหินที่มี ปริมาณถึง 18 ล้านล้านเมตริกตัน แหล่งเกลือหินเหล่านี้อยู่ใต้ผิวดินเพียง 30 เมตร ถึง 1,000 เมตร แบ่งได้ 2 แอ่งใหญ่

1. แอ่งเหนือ (สกลนคร) คลุมพื้นทีจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นเนื้อที่ประมาณ 17,000 ตารางกิโลเมตร

2. แอ่งใต้ (โคราช) คลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นเนื้อที่ประมาณ 33,000 ตารางกิโลเมตร

บริษัท เกลือพิมาย จำกัด
1016 อาคารศรีเฟื่องฟุ้ง พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กทม 10500
+66 (0) 2633-9380-5